วันอังคารที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2553

แนะนำวิธีเลือกซื้อเพชร


จากเว็บ http://www.oneclickdiamond.com/

หลักในการพิจารณาเลือกซื้อเพชร

เพชร เป็นอัญมณีที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติและนับว่าเป็นอัญมณีที่มีค่ายิ่งเพราะมีความสวยงามแฝง ไปด้วยมนต์เสน่ห์ที่ทำทุกคนต่างหลงไหล เพชรแต่ละเม็ดนั้นจะถือได้ว่าเป็นเม็ดเดียวในโลกก็ว่า ได้ เพราะจะไม่มีเพชรเม็ดใดที่เหมือนกันอย่างแท้จริง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อได้ผ่านการเจียระไนขึ้นรูปและ มีเหลี่ยมมุมที่ต่างกันก็ยิ่งทำให้ยากต่อการตัดสินใจที่จะเลือกซื้อ ในปัจจุบันเพชรมีทั้งเพชรตามธรรมชาติ และเพชรเทียมที่ถูกสังเคราะห์ ซึ่งหากผู้ที่ไม่มีความรู้ หรือไม่มีความชำนาญในการตรวจสอบเพชรก็อาจไม่สามารถแยกได้เลยว่าเม็ดใดเป็น ของแท้หรือของเทียมจึงทำให้การเลือกซื้อยากยิ่งขึ้นไปอีก ควรศึกษาข้อแนะนำเบื้องต้นด้านล่างดังต่อไปนี้

1.สี (Color) เพชรจะมีสีตามธรรมชาติหลากหลายเฉดสี ตั้งแต่ขาวใสไร้สีไปถึงสีเหลืองอ่อน สีน้ำเงิน สีชมพู ฯลฯ เป็นต้น เพชรที่มีสีใสไร้สิ่งบนเปื้อนจะมีราคาแพงกว่าเพชรสีอื่นๆ จะเห็นได้ว่าสีของเพชรมีผลกระทบต่อราคาในปัจจุบันจึงได้มีการกำหนดวิธีการเทียบสีเพชร แต่การเทียบสีเพชรใช้เทียบเฉพาะเพชรสีขาวใสไปจนถึงเพชรที่มีสีเหลืองปะปนเท่านั้น เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดในการแยกสีเพชรก็คือแสง แสงที่ใช้คือแสงจากหลอดฟลูโอเรสเซนส์และแสงจากหลอดคลื่นยาวอุลตร้าไวโอเลท ซึ่งมีความถี่ 366 นาโนเมตร พร้อมทั้งใช้อุปกรณ์ช่วยในการตรวจสอบอีก 2 ตัวคือ มาสเตอร์สโตน์ (Master Stone) และ ไดมอน คัลเลอร์ริมิเตอร์ (Diamond Colorimeter) ซึ่งสามารถช่วยคุณในการเปรียบเทียบสีเพชรได้

2. ความสะอาดบริสุทธิ์(Clarity) หมายถึงการไม่มีตำหนิ ความสะอาดบริสุทธิ์นี้ถือว่าเป็นสิ่งสำคัญในการประเมินคุณภาพเพชร ลักษณะของตำหนิสามารถแบ่งได้เป็นตำหนิภายใน (Inclusions) และภายนอก (Blemishes) และมีหลักในการพิจารณาตำหนิของเพชรดังต่อไปนี้ - ขนาดของตำหนิ (Size) - ลักษณะของตำหนิ(Nature) - จำนวนของตำหนิ(Number) - ความชัดเจนของตำหนิ(relief) - ตำแหน่งของตำหนิ(Location) เพชรที่พบว่าสะอาดปราศจากรอยตำหนินั้น หายากและมีราคาแพงสำหรับเพชรแท้ตามธรรมชาตินั้นต้องไม่บริสุทธิ์100u0E16 ถ้าตรวจดูด้วยกล้องที่มีกำลังขยาย 1,000 เท่า จะมองเห็นเส้นเล็กๆ หรือจุดเล็กๆ ซึ่งแสดงถึงความไม่บริสุทธิ์ของธรรมชาตินั้นเอง

3. น้ำหนักกะรัต (Carat Weight) น้ำหนักมาตรฐานที่ใช้ในการชั่งเพชรคิดเป็นกะรัต 1 กะรัตจะแบ่งออกเป็น 100 สตางค์(หนักเท่ากับ 0.2 กรัม) ดังนั้นเพชร 0.75 กะรัตจะหนัก 75 สตางค์ แต่คุณต้องทำความเข้าใจก่อนว่าเพชร 2 เม็ดที่มี น้ำหนักกะรัตเท่ากันอาจจะแตกต่างกันมากในเรื่องของราคาทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับคุณภาพของการเจียระไน สี และความใสของเพชร

4. การเจียระไน (Cutting) การเจียระไนมีความสำคัญต่อเพชรมาก เพราะทำให้เพชรได้สัดส่วนที่ดีและเพื่อให้เพชรทอประกายแสงที่สวยงาม เป็นที่ประทับใจแก่ผู้พบเห็น เพชรที่ผ่านการเจียระไนที่ดีจะมีคุณสมบัติคือ มีการผ่านแสงมีความสว่างของประกายแสง มีความวาวและมีการกระจายแสงที่ดี ซึ่งโดยทั่วไปเพชรจะนิยมเจียระไน เป็นรูป ทรมกลมเนื่องมาจากรูปทรงของผลึกที่อำนวยให้ตัดเป็นทรงกลมและสามารถรักษาน้ำหนักหลังการเจียระไนไว้ได้มากที่สุด นอกจากนี้แล้วยังมีรูปทรงอื่นๆ อีกเช่น รูปไข่ รูปหัวใจ รูปหยดน้ำ ฯลฯ เป็นต้น

เป็นบทความที่คัดลอกมาค่ะ

วันอาทิตย์ที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2553

รู้ได้อย่างไรว่าใส่แหวนไซส์ไหน ?

จากเว็บ http://www.oneclickdiamond.com/

แนะนำวิธีการวัด Size อย่างง่ายง่าย ว่าควรจะสั่งซื้อแหวน Size ไหนทางอินเตอร์เน็ตจึงจะพอดี

วิธีที่หนึ่ง***
1.วัดเส้นผ่านศูนย์กลางของแหวน โดยวัดจากขอบ ด้านใน(ของแหวนที่ใส่หรือมีอยู่แล้ว) หน่วยเป็นมิลลิเมตร (มม.)
2.ได้ค่าเท่าไหร่นำมาเทียบตามรายละเอียดดังนี้คะ

เส้นผ่านศูนย์กลางที่วัด
15.3 มม. size 48
15.6 มม. size 49 (เบอร์ 5)
16 มม. size 50
16.2 มม. size 51
16.5 มม. size 52 (เบอร์ 6)
17 มม. size 53
17.2 มม. size 54 (เบอร์ 7)
17.5 มม. size 55
17.8 มม. size 56
18 มม. size 57 (เบอร์ 8)
18.4 มม. size 58
18.8 มม. size 59
19 มม. size 60 (เบอร์ 9)
19.2 มม. size 61
19.8 มม. size 62 (เบอร์ 10)
20 มม. size 63
20.4 มม. size 64
20.8 มม. size 65 (เบอร์ 11)

วิธีที่สอง*** (ควรใช้วิธีที่ 1 ร่วมด้วย)
1. ใช้เชือกหรือลวดมัดขนมปังหรือตัดกระดาษมาพันรอบนิ้วให้พอดี (ถ้าข้อนิ้วใหญ่ ควรวัดที่ข้อนิ้วเป็นหลัก)
2. ทำเครื่องหมายตรงตำแหน่งที่พอดี
3. นำเชือกหรือกระดาษที่ได้มาทาบกับไม้บรรทัด ได้ผลเป็น มม.
4. ความยาววัดได้เท่าไหร่(มม.) นำมาลบด้วย 2 นั่นคือขนาดแหวนของคุณ เช่น
วัดความยาวได้ 54 มม. (เมื่อนำ 54 มาลบด้วย 2 จะได้ 52) ดังนั้น ขนาดของแหวน= ประมาณ Size 52
วัดความยาวได้ 58 มม. (เมื่อนำ 58 มาลบด้วย 2 จะได้ 56) ดังนั้น ขนาดของแหวน= ประมาณ Size 56
*** ถ้ามีการสงสัยระหว่าง 2 Sizes ควรเลือก Size ใหญ่จะดีกว่า เพราะแต่ละ Size ใกล้เคียงกันมาก
*** ถ้าใช้แบบแรกแล้วไม่แน่ใจ ควรใช้วิธีที่สองด้วยนะคะ

วันพฤหัสบดีที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2553

เจอภัย (ออนไลน์) ใครช่วยที !!!

จากเว็บ http://www.oneclickdiamond.com/

ถ้าไม่อยากร้องแบบนี้ เมื่อประสบภัยออนไลน์ด้วยตัวเอง มาทำความรู้จักกับหน่วยงานราชการที่สามารถช่วยได้ เพียงแต่คนส่วนใหญ่ยังไม่มีข้อมูลเท่านั้น

หน่วยงานรับร้องเรียน :

1. สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ดูแลเกี่ยวกับ การโฆษณา การปิดฉลากสินค้าที่อันตราย การเอารัดเอาเปรียบผู้บริโภค ติดต่อได้ที่

- 120 ม.3 ชั้น 5 อาคารรวมหน่วยราชการ บี ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวาคม

ถ. แจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ 10210

โทรศัพท์สายด่วน 1166 E-mail : consumer@ocpb.go.th เว็บ http://www.ocpb.go.th/

2. ศูนย์จัดการข้อร้องเรียนด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ กรมพัฒนาธุรกิจกาค้า กระทรวงพาณิชย์ มีหน้าที่แก้ไขปัญหาจากการไม่ได้รับความเป็นธรรมในการซื้อ/ขายสินค้าผ่านทางอินเทอร์เน็ต เพื่อให้ผู้บริโภคมั่นใจในการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ติดต่อได้ที่

- 44/100 ถนนนนทบุรี 1 ต.บางกระสอ อ.เมือง จ.นนทบุรี โทรศัพท์ 02-5475959-61

E-mail : ec-complaint@dbd.go.th เว็บ www.dbd.go.th/complain

3. สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข ควบคุมกำกับ กำหนดมาตรฐาน และเฝ้าระวัง ความปลอดภัยผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวกับสุขภาพ เช่น อาหาร ยา เครื่องสำอางค์ วัตถุอันตราย ยาเสพติด วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท เครื่องมือแพทย์ โดยมีบริการให้แก่ผู้บริโภคที่ต้องการซื้อสินค้าออนไลน์ ที่ต้องการทราบว่าผลิตภัณท์นั้นผ่านการรับรองจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาหรือไม่ ติดต่อที่

- ถนนติวานนท์ ต.ตลาดขวัญ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000 โทร 02-590-7000 สายด่วน 1556

E-mail : complain@fda.moph.go.th เว็บ http://www.fda.moph.go.th/

หากต้องการดำเนินคดีอาญา ควรติดต่อ

1. ศูนย์ตรวจสอบและวิเคราะห์การกระทำผิดทางเทคโนโลยี สำนักงานตำรวจแห่งชาติ รับผิดชอบเกี่ยวกับการพิสูจน์ทราบ ตรวจจับสืบสวน และแก้ไขปัญหาทางคดีเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ติดต่อที่

- อาคาร 33 ชั้น 4 ถนนพระราม 1 เขตปทุมวัน กทม 10330 โทร 02-2052627

E-mail : htcc@police.go.th

2. สำนักคดีเทคโนโลยีและสารสนเทศ กรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) กระทรวงยุติธรรม มีหน้าที่ ปฏิบัติงานด้านการป้องกัน ปราบปรามและสืบสวนผู้กระทำผิดทางเทคโนโลยีและสารสนเทศ และสอบสวน และควบคุมอาชญากรรมที่มีผลกระทบอย่างร้ายแรงต่อเศรษฐกิจ สังคม ความมั่นคงและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ที่ต้องอาศัยความรู้ความชำนาญเฉพาะทาง ติดต่อที่

- 128 ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ 10210

โทร 02-8319888 เว็บ http://www.dsi.go.th/

3. กระทรวงเทคโนโลยี่สารสนเทศและการสื่อสาร ดำเนินการรับแจ้งเว็บไซต์ที่ไม่เหมาะสม เช่น เว็บหลอกลวงให้ผู้ใช้บริการต้องสูญเสียเงิน เว็บโฆษณาชวนเชื่อ เว็บลามกอนาจาร เว็บที่มีผลกระทบต่อความมั่นคง

- สำนักกำกับการใช้เทคโนโลยสารสนเทศ

สำนักงานปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

120 ม.3 ชั้น 6 อาคารรวมหน่วยราชการ บี ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวาคม

ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ 10210 เว็บ http://www.mict.go.th/

ทุกท่านคงสบายใจได้แล้วว่าถ้าประสบภัยที่เกิดจากการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ จะสามารถไปร้องเรียนที่ใด หรือจะดำเนินคดีเพื่อให้ได้รับความเป็นธรรม ณ ที่ใด

วันจันทร์ที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2553

ช้อปสนุก !!! ถ้ารู้ มุก โจรออนไลน์

จากเว็บ http://www.oneclickdiamond.com
ภัยที่เกิดจากการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์เกิดขึ้นได้หลายช่องทาง ไม่ว่าจะเป็นทางโทรศัทพ์ อินเทอร์เน็ต บัตรเครดิต การรับจ่ายเงิน ออนไลน์ ฯลฯ ขอรวบรวมภัยี่เกิดจาการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ที่ใกล้ตัว และแนวทางการป้องกันตนเอง
1. ภัยที่เกิดจากการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์คืออะไร

คำว่า "ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์" หมายถึงการใช้ระบบอิเล็กทรอนิกส์หรือระบบเทคโนโลยีสารสนเทศในการแลกเปลี่ยนข้อมูล สินค้า บริการ และการชำระค่าสินค้า ตัวอย่างง่ายๆ ของการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ เช่น การรับส่งอีเมล์ระหว่างกัน การใช้บัตรเครดิตซื้อสินค้าทั้งที่ห้างสรรพสินค้าหรือบนอินเทอร์เน็ต การโอนเงินหรือถอนเงินผ่านเครื่อง ATM การเล่นเว็บบนสังคมออนไลน์ (Social Network) เช่น Facebook, MSN, Messenger เป็นต้น ดังนั้น ภัยที่เกิดจากการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ได้กลายเป็นเรื่องใกล้ตัวทุกคนแล้วในปัจจุบัน

2. รูปแบบของภัยที่เกิดในประเทศไทยและการรับมืออย่างง่าย
ภัยที่เกิดจากการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ที่มักจะพบในประเทศไทย และมีเหยื่อจำนวนมากถูกหลอกลวงมีจำนวน 7 ประเภทด้วยกัน คือ
  1. การถูกขโมยข้อมูลบัตรเครติต

  2. การถูกขโมยข้อมูลที่ใช้ในการระบุตัวตน และ Phishing

  3. ถูกหลอกลวงให้หลงเชื่อ และโอนเงินให้

  4. ผู้ขายไม่มีตัวตนจริง และไม่ส่งสินค้า

  5. ถูกโกงด้วยบัตรเครดิตปลอม หรือบัตรเครดิตที่ถูกขโมยข้อมูลมา

  6. ถูกหลอกให้รัก และโอนเงินให้

  7. การสมัครสมาชิกเครือข่ายธุรกิจเพื่อทำงานจากบ้าน (Work at home)
2.1 การถูกขโมยข้อมูลบัตรเครดิต พบว่าในปัจจุบันมีวิธีการที่มิจฉาชีพใช้ในการขโมยข้อมูลบัตรเครดิตอยู่ 3 รูปแบบ :
รูปแบบที่ 1: การใช้เครื่อง skimmer คัดลอกข้อมูลส่วนตัวที่บันทึกในแถบแม่เหล็กบนบัตรเครดิต จากนั้นนำไปทำบัตรปลอมแล้วนำไปซื้อสินค้า
รูปแบบที่ 2 : การขโมยบัตรเครดิต หรือการนำบัตรเครดิตที่สูญหายไปใช้โดยเจ้าของบัตรไม่รู้ตัว
รูปแบบที่ 3 : การปลอมเอกสารสำคัญเพื่อสมัครบัตรเครดิตเช่น สำเนาบัตรประชาชน ทะเบียนบ้าน สลิปเงินเดือน แล้วนำบัตรไปใช้

วิธีการแก้ไขและป้องกัน การถูกฉ้อโกงโดยการปลอมบัตรเครดิต

  • ควรเก็บรักษาบัตรเครดิต บัตรประชาชน ใบขับขี่ และเอกสารสำคัญอื่นๆ ไว้ในที่ปลอดภัยไม่มอบให้กับผู้ไม่น่าไว้ใจง่ายๆ

  • ควรจดหมายเลขและเลขที่บัญชีบัตรเครดิต และหมายเลขโทรศัทพ์ของแผนกบริการไว้ในที่ปลอดภัย ไม่ควรเก็บไว้ในกระเป๋าสตางค์

  • เพื่อป้องกันกลโกงแบบ Skimming เวลาชำระค่าสินค้าด้วยการรูดบัตร ควรอยู่ ณ จุดที่ทำรายการหรือที่มองเห็นได้ หรือใช้บัตรเครดิตที่มีการฝังชิพ

  • หลีกเลี่ยงการใช้บัตรเครดิตซื้อสินค้าในร้านค้าหรือ ประเทศที่มีความเสี่ยง(แถบอัฟริกา ยูเครน รัสเซีย)

  • ตรวจสอบรายการในสลิปบัตร และเก็บสำเนาไว้ตรวจกับใบแจ้งยอด

  • ระวังการใช้บัตรเครดิตผ่านตู้ ATM กดรหัสต้องไม่ให้ผู้อื่นเห็น

  • ไม่ควรทิ้งเอกสารสำคัญส่วนตัว เช่น บัตรประชาชน สลิปเงินเดือน ไว้ตามที่ต่าง ๆ ถ้าจะทิ้งต้องย่อยทิ้งเป็นชิ้นเล็กๆ

2.2 การขโมยข้อมูลที่ใช้ในการระบุตัวตน และ Phishing มี 2 รูปแบบคือ

  • การคุกคามในรูปแบบของการโทรศัทพ์ เพื่อหลอกลวงข้อมูลส่วนบุคคล การพยายามเจาะข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้าธนาคาร โดยแอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่ของธนาคารพาณิชย์

  • การคุกคามในรูปแบบของการปลอมอีเมล (Email Spoofing) และทำการสร้าง เว็บไซต์ปลอม เพื่อทำการหลอกลวงให้เหยื่อหรือผู้รับอีเมลเปิดเผยข้อมูลทางด้านการเงิน หรือข้อมูลส่วนบุคคล

วิธีการป้องกัน

  • ในกรณีที่ได้รับโทรศัพท์จากธนาคารพาณิชย์ หรือบริษัทบัตรเครดิต ผู้บริโภคจะต้องไม่เปิดเผยข้อมูลในบัตรเครดิต บัตรเดบิต หรือบัตร ATM ของท่านให้แก่คนที่ท่านไม่รู้จักโดยขอให้ตรวจสอบไปยังธนาคารพาณิชย์หรือผู้ประกอบธุรกิจบตรเครดิตโดยตรง เพื่อสอบถามข้อเท็จจริง


  • ในกรณีที่ได้รับอีเมลแอบอ้างจากสถาบันการเงิน ธนาคารพาณิชย์ บริษัทบัตรเครดิต หรือแหล่งอื่นที่น่าเชือถือ ให้เชื่อได้ว่าไม่มีกรณีเช่นนี้เกิดขึ้นจากสถาบันการเงิน หรือหน่วยงานต่างๆ จริง และควรตรวจสอบลิงค์ได้คลิกเข้าไปว่าเป็นลิงค์ของหน่วยงานนั้นจริงหรือไม่ และโดยทั่วไปธนาคารและสถาบันการเงินจะไม่มีนโยบายสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้าผ่านอีเมล


  • ผู้ใช้งานควรจะตรวจสอบความปลอดภัยในการเข้าใช้ระบบโดยสังเกตุที่การเข้ารหัสข้อมูลว่าเว็บไซต์ดังกล่าวมีการเข้ารหัสข้อมูลหรือไม่ โดยสังเกตุที่อยู่ของเว็บไซต์จะต้องเริ่มต้นว่า https:// ไม่ใช่เพียง http: และมีแม่รูปกุญแจอยู่ที่ใต้ Browser

2.3 ถูกหลอกลวงให้หลงเชื่อ และโอนเงินให้ มิจฉาชีพแอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่กรมสรรพากร หรือธนาคารแห่งประเทศไทยว่าได้รับเงินคืนโดยไปทำรายการที่ตู้ ATM


วิธีการป้องกัน

  • ประชาชนทั่วไปควรรับทราบว่าธนาคารแห่งประเทศไทย หรือกรมสรรพากร ไม่มีนโยบายในการขอข้อมูลส่วนบุคคล หรือติดต่อขอให้ทำรายการที่เครื่อง ATM ดังนั้นเมื่อได้รับการติดต่อดังกล่าว ควรจะแจ้งความเพื่อดำเนินคดี

  • เมื่อพบหน้าจอ ATM ที่เป็นภาษาที่ตนเองไม่รู้จัก หรือไม่สามารถอ่านได้ ให้ทำรายการยกเลิกทันที

  • ประชาชนทั่วไปควรทราบว่าเทคโนโลยีของตู้ ATM นั้นไม่สามารถทำรายการรับเงินคืนได้ดังนั้นหากมีการแจ้งว่าให้ทำรายการรับเงินผ่านตู้ ATM นั้น เป็นการหลอกลวงให้โอนเงินอย่างแน่นอน

2.4 ผู้ขายไม่มีตัวตนจริง และไม่ส่งสินค้า มี 2 กรณี

  • มิจฉาชีพปลอมตัวเป็นผู้ขายที่ไม่มีตัวตนจริง และไม่ส่งสินค้า

  • ผู้ขายไม่มีตัวตนจริง โดยหลอกทั้งผู้ซื้อและผู้ขายตัวจริง

วิธีการป้องกัน

  • ผู้บริโภคควรตรวจสอบเว็บไซต์ว่าเชื่อถือได้ มีร้านเป็นหลักแหล่ง สามารถติดต่อได้ท้งทางโทรศัพท์บ้านและไปรษณีย์

  • ผู้บริโภคไม่ควรเห็นแก่สินค้าราคาถูกผิดปกติ และพยายามเร่งรัดให้ซื้อสินค้าเนื่องจากในทางธุรกิจไม่สามารถเป็นไปได้ เมื่อเห็นสินค้าราคาถูกมากผิดปกติให้ตั้งข้อสงสัยว่าเป็นการหลอกลวง

  • ผู้บริโภคควรจะสังเกตุเครื่องหมายรับรองความน่าเชื่อถือที่ผู้ประกอบการได้รับ เพื่อเป็นข้อมูลในการตัดสินใจก่อนซื้อสินค้าและบริการ

  • ผู้บริโภคจะต้องตรวจสอบชื่อบัญชีธนาคารของผู้ขายก่อนจะโอนเงินทุกครั้งว่าตรงกับผู้ที่ติดต่อด้วยหรือไม่ หากเป็นชื่อบุคคลธรรมดาให้พึงระวังเป็นพิเศษมากกว่าชื่อบัญชีธนาคารที่เป็นนิติบุคคล

2.5 ถูกโกงด้วยบัตรเคดิตปลอม

ผู้ประกอบการ e-Commerce มักจะถูกแอบโกงจากผู้ซื้อทางออนไลน์ที่ใช้บัตรเครดิตปลอม ใช้หมายเลขบัตรเครดิตปลอม ใช้หมายเลขบัตรเครดิตที่ขโมยมาจากผู้อื่น หรือบัตรที่หมดอายุแล้ว

วิธีการป้องกัน

  • ผู้ประกอบการจะต้องตรวจสอบความน่าเชื่อถือของหมายเลขบัตรเครดิต ที่ใช้บนอินเตอร์เน็ตกับธนาคารเจ้าของบัตร (Verificaion Service)

  • ควรจะเลือกใช้บริการของธนาคารที่มีระบบการตรวจสอบข้อมูลของบัตรเครดิตที่มากกว่าการเข้ารหัสเพียงอย่างเดียว โดยจะต้องเลือกธนาคาร ระบบการรับชำระเงินที่มีการตรวจสอบข้อมูลบัตรเครดิตได้ เช่น ที่อยู่ หรือหมายเลขโทรศัพท์ ของเจ้าของบัตร และมีระบบ Secured Code (Verified by VISA หรือ Mastercard SecureCode)

  • ผู้ประกอบการควรตรวจสอบรายการที่มีมูลค่าสูง หรือซื้อสินค้าจำนวนมากผิดปกติ ด้วยการโทรศัพท์กลับไปตรวจสอบกับธนาคารเพื่อให้ธนาคารตรวจสอบกับเจ้าของบัตรต่อไป

  • ผู้ประกอบการไม่ควรรับบัตรเครดิตจากธนาคารผู้ออกบัตรจากประเทศที่มีความเสี่ยง (สามารถตรวจสอบรายชื่อจากธนาคาร) หรือขายสินค้าให้กับผู้ซื้อที่ใช้บัตรเครดิตในการจ่ายเงิน กับที่อยู่ที่ส่งของมาจากคนละประเทศ

2.6 ถูกหลอกให้รัก และให้โอนเงินให้

มีผู้เสียหายร้องเรียนเกี่ยวกับคดีที่ถูกหลอกลวงผ่านทาง Chat room โดยเหยื่อส่วนใหญ่จะเป็นสุภาพสตรี และได้รู้จักกับคู่สนทนาที่อ้างว่าเป็นชายชาวต่างชาติ โดยเหยื่อจะถูกหลอกให้หลง เชื่อว่าคู่สนทนานั้นมีตัวตนตริงและทำให้เหยื่อหลงรัก จากนั้นไม่นานคู่สนทนาจะแจ้งว่าได้ส่งของขวัญมูลค่าสูงมาให้เหยื่อทางไปรษณีย์ จากนั้นไม่นานจะมีโทรศัพท์มาหาเหยื่อ โดยอ้างว่าเป็นเจ้าหน้าที่ของบริษัทขนส่ง และแจ้งว่าพัสดุที่ส่งมานั้นมีภาษี และค่าขนส่งที่เกินกว่าที่ผู้ส่งได้ชำระไว้ และขอให้ผู้รับชำระค่าภาษีและค่าขนส่ง

วิธีการป้องกัน

  • ผู้ใช้บริการแช๊ต (Chat) ผ่านอินเทอร์เน็ตควรจะตระหนักถึงภัยในประเด็นนี้ที่มีมากขึ้นตามข่าวที่ปรากฏในหน้าหนังสือพิมพ์หรือสื่อออนไลน์ และไม่ควรจะหลงเชื่อบุคคลอื่นที่ตนเองไม่รู้จัก ผ่านทางอินเทอร์เน็ตโดยเด็ดขาด

  • หากฝ่ายที่สนทนาด้วยแจ้งว่าได้ทำการส่งของ และมีบริษัทผู้ส่งของติดต่อมา จะต้องทำการตรวจสอบโดยตรงไปยังบริษัทส่งของที่แจ้งมาว่ามีชื่อเสียงเพียงใด หากไม่มีชื่อเสียงหรือเป็นที่รู้จัก ห้ามหลงเชื่อโดยเด็ดขาด

  • ควรจะขอหมายเลขส่งของหรือหมายเลขที่ต้องเสียภาษีจากผู้โทรศัพท์แจ้ง และนำหมายเลขนั้นไปตรวจสอบกับเจ้าหน้าที่กรมศุลกากร เพื่อตรวจสอบว่าได้มีการเรียกเก็บภาษี หรือมีสินค้านั้นส่งมาจริงหรือไม่

2.7 การสมัครสมาชิกเครือข่ายธุรกิจ เพื่อทำงานจกาบ้าน (Work at home)

วิธีการปัองกัน

  • ผู้บริโภคควรจะศึกษาและสอบถามรายละเอียดของบริษัท รวมทั้งรูปแบบการทำธุรกิจโดยละเอียดจนแน่ใจว่าผู้โฆษณามีตัวตนอยู่จริง และมีโมเดลธุรกิจที่ชัดเจน หากทางผู้โฆษณาบ่ายเบี่ยงที่จะให้ข้อมูลจนกว่าจะชำระเงินค่าสมาชิกก่อน ให้เชื่อได้ว่าเป็นการหลอกลวงจากมิจฉาชีพ เนื่องจากผิดวิสัยของบริษัทที่ต้องการขยายธุรกิจที่จะต้องอธิบายโมเดลทางธุรกิจให้กับผู้บริโภคอย่างชัดเจน

  • ผู้บริโภคต้องระลึกเสมอว่าในความเป็นจริงไม่มีธุรกิจใดที่ได้เงินมาอย่างง่ายๆ ด้วยการทำงานที่บ้านเพียงแค่วันละ 2-3 ชั่วโมง

วันอาทิตย์ที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2553

ทำไมต้องเลือก OneclickDiamond.com

จากเว็บ http://www.oneclickdiamond.com

1. เป็นเว็บไซต์ที่เชื่อถือได้เพราะได้จดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์กับกระทรวงพาณิชย์เลขที่ 3101200892406 สามารถตรวจสอบได้และ ดูสินค้าจริงได้ที่ร้าน ที่ห้างเซ็นทรัลรามอินทรา ชั้น 1

2. เราทำธุรกิจด้วยความซื่อสัตย์ สินค้าทุกชิ้นเป็นทองคำแท้ และเพชรแท้ 100% มีใบรับประกัน

3. เพชรเบลเยี่ยมคัท ขาวพิเศษ ระดับขาวสวยใสไร้สี Color 95 ขึ้นไป ส่วนใหญ่อยู่ที่ 97 ความสะอาดระดับ VS 1 (Very Slightly Included) ขึ้นไป

4. ปรับขนาดให้ ฟรี บริการส่งสิน ฟรี ไม่มีสูญหาย สินค้ามีประกันทุกชิ้น

5. บริการห่อของขวัญให้ ฟรี เพียงแจ้งให้ทราบว่าท่านซื้อเพื่อให้เป็นของขวัญ

6. ดูแลลูกค้าตลอดอายุการใช้งาน

OneclickDiamond " The trust you can expect "

จากเว็บ http://www.oneclickdiamond.com

Blog นี้ตั้งใจจะให้เป็นที่รวบรวม ความรู้ บทความและสาระน่ารู้ต่างๆ มากมาย โดยมุ่งเน้นเรื่อง เครื่องประดับเพชรแท้ ไม่ว่าจะเป็น แหวนเพชร แหวนแต่งงาน แหวนหมั้น แหวนทองคำขาว แหวนคู่ ต่างหูเพชร จี้เพชร กำไลเพชร สร้อยข้อมือเพชร และอัญมณี เพื่อเป็นช่องทางสื่อสารอีกทางของ OneclickDiamond และลูกค้าหรือผู้ที่สนใจในเครื่องประดับเพชรค่ะ