วันอังคารที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2553

ทำไมต้อง กะรัต เมื่อวัดน้ำหนักเพชร

จากเว็บ http://www.oneclickdiamond.com/

น้ำหนัก (Carat)

หน่วยวัดน้ำหนักเพชรคือ กะรัต ซ่งเป็นคำเพี้ยนมาจากคำว่า แคร็อบ (carob) อันเป็นเมล็ดของต้นไม้ชนิดหนึ่งที่พบได้ในประเทศแอฟริกาใต้ ฝักคล้ายมะขาม ที่น่าประหลาดคือเมล็ดข้างในแทบทุกเม็ดมีน้ำหนักใกล้เคียงกัน พ่อค้าสมัยก่อนจึงใช้เป็นเสมือนลูกตุ้มน้ำหนัก ใช้ในการซื้อขายเพชร

น้ำหนักของเพชรจะวัดเป็นกะรัต หนึ่งกะรัต หนัก 0.2 กรัม แบ่งออกเป็น 100 สตางค์ดังนั้นเพชรขนาด 0.75 กะรัตจึงมีน้ำหนักเท่ากับ 75 สตางค์ ขนาดกะรัตเป็นตัวตัดสินมูลค่าของเพชรที่เด่นชัดที่สุดแต่สิ่งที่ควรระลึกไว้เสมอก็คือเพชรสองเม็ดที่มีขนาดกะรัตเท่ากันอาจมีมูลค่าแตกต่างกันอย่างมากก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการเจียระไน สีและความสะอาด

เพชรที่มีน้ำหนักตัวมาก ราคาต่อกะรัตจะแพงกว่าเม็ดที่มีน้ำหนักน้อยกว่า โดยความแตกต่างของราคากับน้ำหนัก ไม่ได้วิ่งเป็นกราฟเส้นตรง เช่น เพชรหนึ่งกะรัตหนึ่งเม็ด ราคาจะมากกว่าเพชรครึ่งกะรัตสองเม็ดในคุณภาพที่เท่ากัน เหตุผลหลักคือ เพชรเม็ดใหญ่กว่าหายากกว่า และน้ำหนักเพชรที่เหลือหลังจากการเจียระไน มักจะน้อยกว่าน้ำหนักตั้งต้น 50-70 %

น้ำหนัก มูลค่าที่สร้างความแตกต่าง

ในวงการค้าเพชร เมื่อพ่อค้าพูดถึงขนาดของเพชร มักจะหมายถึงน้ำหนักซึ่งมีหน่วยเป็นกะรัตมีปีคริสตศักราช 1913 มีการกำหนดมาตรฐานหน่วยน้ำหนัก 1 กะรัต ให้มีค่าเท่ากับ 0.2 กรัม หรือ 100 พอยต์สำหรับคนไทยจะเรียกน้ำหนักเป็นหน่วย กะรัต และหน่วยที่ต่ำกว่ากะรัตจะเรียกว่า สตางค์ โดย 1 กะรัต มีค่าเท่ากับ 100 สตางค์ ตัวอย่าง : เพชรน้ำหนัก 50 สตางค์ เท่ากับ 0.50 กะรัต

ในสหรัฐอเมริกา มีการใช้คำว่ากะรัตที่สะกดด้วยพยัญชนะภาษาอังกฤษว่า “KARAT” เพื่อบ่งบอกถึงปริมาณความบริสุทธิ์ของทองคำ เช่น 24 karat , 14 karat เป็นต้น ส่วนคำว่า กะรัตที่สะกดด้วยพยัญชนะภาษาอังกฤษว่า “CARAT” จะใช้เพื่อบ่งบอกน้ำหนักของอัญมณี

การประเมินคุณค่าเพชรในเรื่องน้ำหนักเป็นเรื่องที่ทำใด้ง่ายโดยเฉพาะสำหรับเพชรรูปทรงกลมเหลี่ยมเกสร เนื่องจากมีการศึกษาอย่างต่อเนื่องมานานทำให้ได้ค่าที่เหมาะสมระหว่างน้ำหนัก (กะรัต) กับขนาด (มิลลิเมตร) ที่มีความสัมพันธ์แต่ในความเป็นจริงแล้วพบว่า เพชรที่ผ่านการเจียระไนจำนวนมากมีน้ำหนักกับขนาดที่ไม่สัมพันธ์กัน ซึ่งถ้ามีความแตกต่างกันมากก็แสดงว่าเพชรเม็ดนั้นมีการเจียระไนที่ไม่เหมาะสม ซึ่งอาจเป็นผลต่อเนื่องจากการเจียระไนที่ไม่ได้สัดส่วน โดยอาจมีสาเหตุจากรูปทรงของผลึกเพชรที่ไม่สมบูรณ์ หรือการที่ช่างเจียรพยายามเจียระไนเพื่อรักษาน้ำหนักเพชรให้ได้มากที่สุด หรือเป็นเพราะต้องเจียรหลบเลี่ยงตำหนิของเพชรนั่นเอง

น้ำหนักเพชรที่เท่ากันอาจจะมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางที่วัดเป็นหน่วยมิลลิเมตรไม่เท่ากัน โดยบางเม็ดอาจมีเส้นผ่าศูนย์กลางใหญ่กว่า แต่มีความสูงที่ต่ำกว่าอีกเม็ด ขณะเดียวกันเพชรที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางที่เท่ากันก็อาจจะมีน้ำหนักที่ต่างกันได้ ขึ้นอยู่กับความหนาของเกอร์เดิลและความสูงของเพชร

น้ำหนักของเพชรมีผลต่อราคาเป็นอย่างมาก เนื่องจากความหายากของเพชรต่อเม็ดที่มีขนาดใหญ่ ทำให้ราคาของน้ำหนักเพชรต่อเม็ด มีมูลค่ามากกว่าน้ำหนักเพชรเม็ดเล็ก ๆ มารวมกัน เช่น เพชรน้ำหนัก 25 สตางค์ จำนวน 2 เม็ดรวมกันจะมีมูลค่าน้อยกว่าเพชรน้ำหนัก 50 สตางค์จำนวน 1 เม็ด
เป็นบทความที่คัดลอกมาค่ะ

การเจียระไนเพชร (cutting)

จากเว็บ http://www.oneclickdiamond.com/

การเจียระไนเพชร (cutting)

ประวัติการเจียรระไนในอดีตนั้น อินเดียเป็นชาติแรกที่รู้จักการเจียรระไนเพชร แต่ไม่มีชื่อเสียง ในเรื่องความสวยงาม เพราะอินเดียนิยมเจียรระไนให้ได้เนื้อเพชรมากๆ โดยไม่คำนึงถึงการกระจายแสงหรือประกายไฟ หลังจากนั้นหลายๆประเทศได้มีวิวัฒนาการรูปแบบการเจียรระไน ให้ดีขึ้นมาเรื่อยๆ เพือให้เพชรมีการเล่นแสงให้ได้มากที่สุด รวมทั้งรักษาน้ำหนักที่เสียไปจากการเจียรระไนให้น้อยที่สุด ทำให้เพชรที่เจียรระไนรุ่นใหม่ มีคุณภาพดีกว่าการเจียรระไนแบบเก่า จนได้รูปแบบการเจียรระไนเพชรที่ได้รับความนิยมใช้กันถึงปัจจุบัน คือการเจียรรูปทรงกลมเหลี่ยมเกสร (round brilliant cut) ซึ่งมี 58 เหลี่ยม ราคาเพชรรุ่นใหม่จึงมีราคาสูงกว่าการเจียรแบบเก่าๆ


การเจียรระไนเพชรทำได้หลายแบบ :


ทรงกลม (round brilliant cut) เป็นการเจียรระไนเพชรทรงเหลี่ยมเกสรซึ่งเป็นที่นิยมในปัจจุบัน
ทรงแฟนซี เช่น ทรงสี่เหลี่ยมจตุรัส หรือสี่เหลี่ยมพริ้นเซส (Princess cut) สี่เหลี่ยมผืนผ้า หรือสี่เหลี่ยมมรกต (Emeral cut) ทรงไข่ (Oval) ทรงหัวใจ (Heart) ทรงเม็ดข้าว ( Marquoise) หรือทรงหยดน้ำ (Pearl)

องค์ประกอบของความสวยงามในการเจียรระไน :
  • การผ่านแสง (Transparent)
  • ประกายแสง (Brilliance)
  • การกระจายแสง (Dispersion)
  • ความระยิบระยับ (Scintillation)

  • ความวาว (Luster)

ในการพิจารณาว่าเพชรเม็ดนั้นเจียระไนดีหรือไม่นั้นต้องพิจารณาจาก 3 องค์ประกอบ:

ขนาดเทเบิล (Table Size) ที่ใหญ่หรือเล็กเกินไปจะมีผลต่อการกระจายแสงของเพชร

มุมคราวน์ (Crown Height) ที่มีความสูงไม่สมดุลกับมุมสะท้อนแสงจะมีส่วนทำให้การกระจายแสงลดน้อย

ความลึกพาวิเลี่ยน (Pavilion Dept) ที่มีการเจียระไนที่ดี แสงจะสะท้อนขึ้นทุกมุม ทำให้การกระจายแสงดี แต่ถ้าเจียระไนบางเกินไปแสงจะทะลุออกด้านล่างหรือถ้าเจียระไนหนาเกินไปจะทำให้ไม่มีแสงสะท้อนทำให้เพชรจะดูมืด (Nail Head)

ซึ่งค่าทั้งหมดจะถูกตรวจสอบโดยนักอัญมณีศาสตร์และบันทึกผลที่ได้ลงใน Certificates ซึ่งผลที่ได้ทั้งหมดจะนำมาสรุปเพื่อให้เข้าใจง่ายต่อบุคคลทั่วไป โดยจะเรียงลำดับจาก เจียระไนดีมาก (Very Good), เจียระไนดี (Good), เจียระไนพอใช้(Fair)
การเจียระไน เป็นคุณภาพเดียวของเพชรที่ควบคุมได้โดยฝีมือคนถือเป็นหัวใจของคุณภาพส่วนรวมของเพชร เพราะวัตถุประสงค์หลักของการเจียระไน คือ การนำลักษณะที่ดีของเพชรออกมาเปล่งประกายให้มากที่สุดเพชรทั่ยังไม่ผ่านการเจียระไน มีผิวมัวคล้ายฉาบด้วยน้ำมัน คล้ายก้อนหินทั่วๆไป แต่เมื่อนำมาเชียระไนแล้วจึงเปล่งประกายดังนั้น ถึงแม้ว่าเพชรเนื้อใสสะอาดเพียงใด มีสีสวยเพียงใด แต่ถ้าเจียระไนนั้นไม่ได้สัดส่วนที่ถูกต้อง ย่อมทำให้คุณภาพด้อยลงไปอย่างน่าเสียดาย
ช่างเจียระไนเพชรที่ดีต้องพิจารณาจากรูปร่างก้อนเพชรว่าจะตัดแนวใดและเจียระไนรูปแบบใด จึงจะเปล่งประกายมากที่สุด และรักษาน้ำหนักได้มากที่สุด ช่างเจียระไนเพชรที่ดีจะรักษาคุณภาพมากกว่ารักษาน้ำหนักเพราะถึงแม้ว่าเพชรจะมีน้ำหนักมาก แต่ถ้าสูญเสียประกาย ย่อมมีมูลค่าลดลง

เป็นบทความที่คัดลอกมาค่ะ

วันพฤหัสบดีที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2553

มารู้จักเหลี่ยมเพชร Heart & Arrow กันดีกว่า

จากเว็บ http://www.oneclickdiamond.com/

เพชร Hearts &Arrows (H&A) เพชรกลมระดับโลกที่เจียระไนได้สัดส่วนสมบูรณ์แบบที่สุด

เอกลักษณ์ของเพชร คือ การเล่นแสง เพชรที่ดีจะก่อให้เกิดประกายที่สวยงาม ที่เราเรียกว่า "น้ำ" เพชรน้ำดีหรือไม่ดี ขึ้นอยู่กับ การเล่นแสงของเพชร ยิ่งเพชรสะท้อนแสงได้มากเท่าไหร่ เพชรยิ่งสวยงามมากขึ้นเท่านั้น

Hearts & Arrows คืออะไร
Hearts & Arrows คือ เพชรกลม (Round Brillant) ที่ได้รับการเจียระไนอย่างได้สัดส่วนสมบูรณ์แบบที่สุดในโลก โดยทุกเหลี่ยมเพชร (Facet) ทำมุมองศาและสัดส่วน ในตำแหน่งที่ถูกต้องไม่คลาดเคลื่อน ทำให้เกิดความสมดุลระหว่างความสุกใสส่องสว่าง (Brilliance, การสะท้อนกลับของแสงสู่ตา ) และการกระจายแสงของเพชร (Dispersion) หรือไฟนั่นเอง โดยเมื่อมองผ่านกล้อง Hearts & Arrows Loope จะเห็นภาพลูกศร 8 ดอก ขนาดเท่า ๆ กัน เรียงเป็นวงกลม บนด้านหน้าหรือ เทเบิล และเมื่อมองจากทางก้นเพชรหรือพาวิลเลียน จะเห็นเป็นรูปหัวใจ 8 ดวง เรียงกันเป็นวงกลมเช่นกัน
เพชร Hearts & Arrows แตกต่างจากเพชรอื่น ๆ ตรงความสมบูรณ์แบบ ที่คุณสามารถมองเห็นและสัมผัสได้

สัดส่วนที่สมบูรณ์แบบ
สัดส่วนของเพชรนั้นส่งผลต่อการกระจายแสงของเพชร โดยเพชรที่เจียระไนตื้นและมีหน้ากว้างไป หรือเจียรไนลึกและแคบไปนั้นจะทำให้แสงออกด้านข้าง และด้านล่างของเพชรทำให้เพชรเสียความสุกสว่าง และการส่องประกาย ซึ่งเพชร Hearts & Arrows นั้นถูกเจียรไนให้ได้สัดส่วนสมบูรณ์แบบที่สุด ทำให้เพชรนั้นเล่นแสงและเปล่งประกายได้มากที่สุดเท่าที่เพชรจะสามารถส่องประกายได้

รูปสัญญลักษณ์ลูกศร 8 ดอก และหัวใจ 8 ดวง นั้นมีความหมายลึกซึ้งควรค่าแก่การครอบครองเป็นยิ่งนักโดยประเทศในเอเชีย นั้นเชื่อว่า เพชร Hearts & Arrows เป็น "The Stone of Luck" (อัญมณีแห่งความโชคดี) ส่วนประเทศฝั่งตะวันตก เช่นยุโรปและสหรัฐอเมริกานั้น เรียกเพชรนี้ว่า "The Proof of Love" (สัญญลักษณ์แห่งความรัก)

***** เชิญเลือกซื้อเพชร Heart & Arrow ของ http://www.oneclickdiamond.com/ ได้เลยค่ะ
เป็นบทความที่คัดลอกมาค่ะ

วันจันทร์ที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2553

วิธีดูว่าเป็นเพชรแท้ หรือเพชรเทียม ดูอย่างไร

จากเว็บ http://www.oneclickdiamond.com/

เดี่ยวนี้ร้านเพชรมีมากมาย ตามห้างสรรพสินค้าต่างๆ จะเห็นบูธขายเพชรเต็มไปหมด หลากหลายแบรนด์ หลากหลายดีไซน์ สาวๆ ที่ยังไม่คุ้นเคยกับเพชร คงเริ่มกังวลว่าหากจะซื้ออย่างไรเพื่อให้มั่นใจว่าเป็นเพชรแท้ คุณภาพดี เหมาะสมกับเงินที่จ่ายไปเรามาศึกษากันก่อนดีมั๊ยค่ะ ขั้นตอนแรกก็ต้องตรวจสอบ ว่าเป็นเพชรแท้ หรือเพชรเทียม มาดูกันเลย

1. ดูค่าความถ่วงจำเพาะ ด้วยวิธีการหย่อนเพชรลงในน้ำยามาตรฐาน ที่มีความถ่วงจำเพาะ 3.52 ถ้าเป็นเพชรแท้จะลอยปริ่มระดับ เดียวกับน้ำยา หากเป็นเพชรเทียมส่วนมากจะจม แต่วิธีนี้ใช้ไม่ได้กับเพชรเทียมที่เป็นพวกแก้ว เช่น โทแพซ(Topaz) ควอร์ทซ(Quartz) ซินเทติก แซฟไฟเออะ(Synthetic Sapphire) เพราะค่าความถ่วงจำเพาะของสิ่งเหล่านี้ใกล้เคียงเพชรแท้มาก

2. ดูค่าดัชนีหักเห ด้วยวิธีการหย่อนเพชรลงในน้ำยามาตรฐานที่มีค่าดัชนีหักเห 1.743 ถ้าเป็นสารที่มีค่าดัชนีหักเหสูงกว่านี้จะมองเห็นประกายในน้ำยา แต่ถ้าสารนั้นมีดัชนีหักเหต่ำกว่าจะมองไม่เห็นประการ เพชรเทียมส่วน มากมีค่าดัชนีหักเหสูงกว่านี้ยกเว้นเพชรเทียมที่ทำจากแก้ว เช่นโทแพซ (Topaz) ควอร์ทซ (Quartz) ซินเทติกแซฟไฟเออะ(Synthetic Sapphire)

3. ดูความแข็ง วิธีนี้เป็นวิธีที่ให้ผลแน่นอนเนื่องจากเพชรแท้เมื่อถูกอัญมณีตระกูลคอรันดับขีดบนหน้าผลึกแล้วจะต้องไม่เป็นรอยแต่ถ้านำไป ขีดบนเพชรเทียมชนิดอื่นๆ จะเห็นรอยขีดซึ่งรอยขีดจะชัดเจนแค่ไหนนั้นขึ้นอยู่กับความแข็งของเพชรเทียมชนิดนั้นๆ

4. ทดสอบการนำความร้อน โดยการใช้เครื่องมือตรวจสอบการนำความร้อน ซึ่งใช้แยกเพชรแท้ออกจากเพชรเทียมเครื่องมือนี้เรียกว่า เทอร์มอลคอนดัคทิวิตี้โพรบ(Themal conductivity probe)ซึ่งสามารถพกพาได้สะดวกใช้ได้กับเพชรทุกขนาด และมีความรวดเร็วในการตรวจสอบ

***** สินค้าของ http://www.oneclickdiamond.com/ เป็นเพชรแท้ 100 % สามารถตรวจสอบได้

เป็นบทความที่คัดลอกมาค่ะ

วันศุกร์ที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2553

การดูแลรักษาเครื่องประดับเพชรอย่างถูกวิธี มีนิดเดียว

จากเว็บ http://www.oneclickdiamond.com/

วิธีทำความสะอาด ลองทำกันดูนะคะ
- ผสมน้ำยาซึ่งมีส่วนผสมของแอมโมเนีย ผงซักฟอก และน้ำอุ่น หรือจะ ใช้สบู่เหลวเล็กๆ ผสมกับน้ำอุ่นในอ่างขนาดเล็ก
- นำเพชรที่ต้องการทำความสะอาดแช่ในน้ำยาสักพัก
- ใช้แปรงขนอ่อนแปรงเพชรเบาๆ จนแน่ในว่าสิ่งสกปรกหลุดออกจนหมด
- นำเพชรวางลงบนตะแกรงลวดแล้วใช้น้ำอุ่นเทราดเพื่อชะล้างน้ำยาให้หมด
- ใช้ผ้าเนื้อนุ่มไม่มีขุยซับเพชรให้แห้ง นอกจากนี้ ยังมีเคล็ดลับในการดูแลรักษาและทำความสะอาาดสำหรับผู้ที่สวมใส่เพชรเป็นประจำ เพื่อให้เครื่องประดับเพชรราคาแพงเป็นสมบัติล้ำค่าต่อไปอีกนานเท่านาน
- อย่าสวมแหวนเพชรขณะทำงานหนักหรือทำกิจกรรมที่สมบุกสมบัน และอย่าให้เครื่องประดับเพชรถูกน้ำยาเคมีที่ใช้ในบ้าน เช่น น้ำยาซักผ้า น้ำยาเช็ดกระจก น้ำยาทำความสะอาดพื้น ถึงแม้ว่ายาเหล่านี้จะไม่มีผลต่อเพชร แต่อาจทำให้ตัวเรือนเปลี่ยนสีหรือชำรุดได้
- การใช้น้ำยาสเปรย์ผม เครื่องสำอาง ครีมทาหน้า และน้ำหอม อาจทำให้เพชรมีสีหมอง ขาดประกายแวววาว จึงควรใส่เครื่องเพชรหลังการสเปรย์ผม และใช้เครื่องสำอางเสร็จแล้ว
- เก็บเครื่องประดับในที่สะอาดและแห้ง - เก็บเครื่องประดับในกล่องที่บุด้วยผ้า หรือกล่องที่แบ่งเป็นช่องๆ หากต้องใช้กล่องธรรมดา ควรใช้กระดาษเนื้อนิ่ม เช่น กระดาษเช็ดหน้า ห่อเครื่องประดับแต่ละชิ้นโดยแยกจากกัน เพื่อป้องกันเครื่องประดับเสียดสีกันเองจนทำให้เกิดรอย
- เมื่อต้องถอดเครื่องประดับออกขณะล้ามือ อย่าวางเครื่องประดับทิ้งไว้บริเวณขอบอ่างล้างมือ เพราะเครื่องประดับมีโอกาสหล่นลงไปในท่อน้ำได้ง่าย
- นำเครื่องประดับไปตรวจสอบสภาพที่ร้านเครื่องประดับอย่างน้อยปีละครั้ง เพื่อตรวจดูว่ามีการเสื่อมสภาพอันเกิดจากการใช้งาน เช่น หนามเตยหลวม ตัวเรือนเป็นรอยบุ๋ม หรือมีรอยขีดข่วนต่างๆ หรือไม่และให้ร้านเครื่องประดับทำความสะอาดเครื่องประดับทุก 6 เดือน
- เครื่องทำความสะอาดเครื่องประดับขนาดเล็กในท้องตลาดมีหลายชนิด สามารถใช้คลื่นเสียงความถี่สูงทำความสะอาดได้ในเวลาไม่กี่นาที เครื่องทำความสะอาดประเภทนี้เรียกว่า เครื่องทำความสะอาดแบบอัลตราโซนิก (Ultrasonic Cleaners) ซึ่งมีหลายรุ่นและหลายระดับราคาให้เลือกใช้
เป็นบทความที่คัดลอกมาค่ะ

วันพุธที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2553

รูปทรงของเพชรสะท้อนความเป็นคุณ

จากเว็บ http://www.OneclickDiamond.com/

คมชัดลึก : สำหรับสาวๆ แล้ว หากให้เลือกเครื่องประดับชิ้นงามสักชิ้น คงไม่มีใครปฏิเสธที่จะเลือก “เพชร” เพราะเป็นอัญมณีที่ สาวๆ ทุกคนใฝ่ฝันอยากจะครอบครอง เราลองมาสำรวจกันสักนิดสิว่า เพชรในแต่ละรูปทรง บ่งบอกและสะท้อนบุคลิกสาวๆ อย่างไรกันบ้าง เริ่มจาก
  • เพชรทรงกลม ด้วยความที่เป็นเพชรรูปทรงคลาสสิก จึงเป็นที่นิยมของผู้หญิงจำนวนมาก ซึ่งเพชรทรงกลมนี้ สื่อถึง ความโรแมนติก และความสื่อสัตย์ เ
  • พชรเหลี่ยม เพชรแห่งความหรูหรา ทำให้ผู้ที่ประดับกายด้วยเพชรรูปทรงนี้ ดูดี มีเสน่ห์ดึง ดูดใจ แลดูเป็นหญิงสาวที่มีความเชื่อมั่นในตัวเองสูง มีความเป็นผู้นำ กล้าได้กล้าเสีย
  • เพชรเหลี่ยมมรกต เพชรที่สวยงามตลอดกาล สื่อถึงความสงบ สง่างามสมกับเป็นผู้ดี มีใจกว้างขวาง มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว
  • เพชรรูปไข่ รูปทรงไข่สื่อถึงความเป็นผู้หญิง เป็นที่รักของเด็กๆ มีความมั่นคง ซื่อสัตย์ และสาวที่ช่างคิดสร้างสรรค์
  • เพชรรูป หยดน้ำ บ่งบอกถึงความเป็นผู้หญิงที่เข้มแข็งมีความมั่นใจ แฝงไปด้วยเสน่ห์ และโรแมนติก ในทางตรงกันข้าม เธออาจ จะเป็นสาวเจ้าน้ำตา ขี้สงสาร ได้ในบางครั้ง
  • เพชรรูปหัวใจ “หัวใจ” สัญลักษณ์ของ ความรักแท้ หวานโรแมนติก และ
  • เพชรมาควิซ บ่งบอกถึงความมั่งคั่ง เลิศ หรูหรา สง่างาม

เป็นบทความที่คัดลอกมาค่ะ

วันศุกร์ที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2553

การเปรียบเทียบน้ำหนักทอง


จากเว็บ http://www.oneclickdiamond.com/

ทองคำบริสุทธิ์ 99.99%
ทองคำ 1 กิโลกรัม = 32.1508 ออนซ์
ทองคำ 1 ออนซ์ = 31.104 กรัม

ทองคำบริสุทธิ์ 96.5% (มาตรฐานใประเทศไทย)
ทองรูปพรรณ น้ำหนัก 1 บาท = 15.16 กรัม
ทองคำแท่ง น้ำหนัก 1 บาท = 15.244 กรัม

% ทองคำ
*** ทองคำบริสุทธิ์เต็ม 100 % นั้น ไม่สามารถทำได้ จะถลุงให้บริสุทธิ์ได้เต็มที่ 99.99% เท่านั้น
*** คำว่า กะรัต (KARAT ) เป็นการแสดงถึงเปอร์เซนต์ทองคำ โดยมีข้อกำหนดเป็นอัตราส่วน ดังนี้

ทองคำ 24 กะรัต (K ) = 100 %
ทองคำ 22 กะรัต (K ) = 90 %
ทองคำ 18 กะรัต (K ) = 75 %
ทองคำ 14 กะรัต (K ) = 58 %

เป็นบทความที่คัดลอกมาค่ะ