วันจันทร์ที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2553

ช้อปสนุก !!! ถ้ารู้ มุก โจรออนไลน์

จากเว็บ http://www.oneclickdiamond.com
ภัยที่เกิดจากการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์เกิดขึ้นได้หลายช่องทาง ไม่ว่าจะเป็นทางโทรศัทพ์ อินเทอร์เน็ต บัตรเครดิต การรับจ่ายเงิน ออนไลน์ ฯลฯ ขอรวบรวมภัยี่เกิดจาการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ที่ใกล้ตัว และแนวทางการป้องกันตนเอง
1. ภัยที่เกิดจากการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์คืออะไร

คำว่า "ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์" หมายถึงการใช้ระบบอิเล็กทรอนิกส์หรือระบบเทคโนโลยีสารสนเทศในการแลกเปลี่ยนข้อมูล สินค้า บริการ และการชำระค่าสินค้า ตัวอย่างง่ายๆ ของการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ เช่น การรับส่งอีเมล์ระหว่างกัน การใช้บัตรเครดิตซื้อสินค้าทั้งที่ห้างสรรพสินค้าหรือบนอินเทอร์เน็ต การโอนเงินหรือถอนเงินผ่านเครื่อง ATM การเล่นเว็บบนสังคมออนไลน์ (Social Network) เช่น Facebook, MSN, Messenger เป็นต้น ดังนั้น ภัยที่เกิดจากการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ได้กลายเป็นเรื่องใกล้ตัวทุกคนแล้วในปัจจุบัน

2. รูปแบบของภัยที่เกิดในประเทศไทยและการรับมืออย่างง่าย
ภัยที่เกิดจากการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ที่มักจะพบในประเทศไทย และมีเหยื่อจำนวนมากถูกหลอกลวงมีจำนวน 7 ประเภทด้วยกัน คือ
  1. การถูกขโมยข้อมูลบัตรเครติต

  2. การถูกขโมยข้อมูลที่ใช้ในการระบุตัวตน และ Phishing

  3. ถูกหลอกลวงให้หลงเชื่อ และโอนเงินให้

  4. ผู้ขายไม่มีตัวตนจริง และไม่ส่งสินค้า

  5. ถูกโกงด้วยบัตรเครดิตปลอม หรือบัตรเครดิตที่ถูกขโมยข้อมูลมา

  6. ถูกหลอกให้รัก และโอนเงินให้

  7. การสมัครสมาชิกเครือข่ายธุรกิจเพื่อทำงานจากบ้าน (Work at home)
2.1 การถูกขโมยข้อมูลบัตรเครดิต พบว่าในปัจจุบันมีวิธีการที่มิจฉาชีพใช้ในการขโมยข้อมูลบัตรเครดิตอยู่ 3 รูปแบบ :
รูปแบบที่ 1: การใช้เครื่อง skimmer คัดลอกข้อมูลส่วนตัวที่บันทึกในแถบแม่เหล็กบนบัตรเครดิต จากนั้นนำไปทำบัตรปลอมแล้วนำไปซื้อสินค้า
รูปแบบที่ 2 : การขโมยบัตรเครดิต หรือการนำบัตรเครดิตที่สูญหายไปใช้โดยเจ้าของบัตรไม่รู้ตัว
รูปแบบที่ 3 : การปลอมเอกสารสำคัญเพื่อสมัครบัตรเครดิตเช่น สำเนาบัตรประชาชน ทะเบียนบ้าน สลิปเงินเดือน แล้วนำบัตรไปใช้

วิธีการแก้ไขและป้องกัน การถูกฉ้อโกงโดยการปลอมบัตรเครดิต

  • ควรเก็บรักษาบัตรเครดิต บัตรประชาชน ใบขับขี่ และเอกสารสำคัญอื่นๆ ไว้ในที่ปลอดภัยไม่มอบให้กับผู้ไม่น่าไว้ใจง่ายๆ

  • ควรจดหมายเลขและเลขที่บัญชีบัตรเครดิต และหมายเลขโทรศัทพ์ของแผนกบริการไว้ในที่ปลอดภัย ไม่ควรเก็บไว้ในกระเป๋าสตางค์

  • เพื่อป้องกันกลโกงแบบ Skimming เวลาชำระค่าสินค้าด้วยการรูดบัตร ควรอยู่ ณ จุดที่ทำรายการหรือที่มองเห็นได้ หรือใช้บัตรเครดิตที่มีการฝังชิพ

  • หลีกเลี่ยงการใช้บัตรเครดิตซื้อสินค้าในร้านค้าหรือ ประเทศที่มีความเสี่ยง(แถบอัฟริกา ยูเครน รัสเซีย)

  • ตรวจสอบรายการในสลิปบัตร และเก็บสำเนาไว้ตรวจกับใบแจ้งยอด

  • ระวังการใช้บัตรเครดิตผ่านตู้ ATM กดรหัสต้องไม่ให้ผู้อื่นเห็น

  • ไม่ควรทิ้งเอกสารสำคัญส่วนตัว เช่น บัตรประชาชน สลิปเงินเดือน ไว้ตามที่ต่าง ๆ ถ้าจะทิ้งต้องย่อยทิ้งเป็นชิ้นเล็กๆ

2.2 การขโมยข้อมูลที่ใช้ในการระบุตัวตน และ Phishing มี 2 รูปแบบคือ

  • การคุกคามในรูปแบบของการโทรศัทพ์ เพื่อหลอกลวงข้อมูลส่วนบุคคล การพยายามเจาะข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้าธนาคาร โดยแอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่ของธนาคารพาณิชย์

  • การคุกคามในรูปแบบของการปลอมอีเมล (Email Spoofing) และทำการสร้าง เว็บไซต์ปลอม เพื่อทำการหลอกลวงให้เหยื่อหรือผู้รับอีเมลเปิดเผยข้อมูลทางด้านการเงิน หรือข้อมูลส่วนบุคคล

วิธีการป้องกัน

  • ในกรณีที่ได้รับโทรศัพท์จากธนาคารพาณิชย์ หรือบริษัทบัตรเครดิต ผู้บริโภคจะต้องไม่เปิดเผยข้อมูลในบัตรเครดิต บัตรเดบิต หรือบัตร ATM ของท่านให้แก่คนที่ท่านไม่รู้จักโดยขอให้ตรวจสอบไปยังธนาคารพาณิชย์หรือผู้ประกอบธุรกิจบตรเครดิตโดยตรง เพื่อสอบถามข้อเท็จจริง


  • ในกรณีที่ได้รับอีเมลแอบอ้างจากสถาบันการเงิน ธนาคารพาณิชย์ บริษัทบัตรเครดิต หรือแหล่งอื่นที่น่าเชือถือ ให้เชื่อได้ว่าไม่มีกรณีเช่นนี้เกิดขึ้นจากสถาบันการเงิน หรือหน่วยงานต่างๆ จริง และควรตรวจสอบลิงค์ได้คลิกเข้าไปว่าเป็นลิงค์ของหน่วยงานนั้นจริงหรือไม่ และโดยทั่วไปธนาคารและสถาบันการเงินจะไม่มีนโยบายสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้าผ่านอีเมล


  • ผู้ใช้งานควรจะตรวจสอบความปลอดภัยในการเข้าใช้ระบบโดยสังเกตุที่การเข้ารหัสข้อมูลว่าเว็บไซต์ดังกล่าวมีการเข้ารหัสข้อมูลหรือไม่ โดยสังเกตุที่อยู่ของเว็บไซต์จะต้องเริ่มต้นว่า https:// ไม่ใช่เพียง http: และมีแม่รูปกุญแจอยู่ที่ใต้ Browser

2.3 ถูกหลอกลวงให้หลงเชื่อ และโอนเงินให้ มิจฉาชีพแอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่กรมสรรพากร หรือธนาคารแห่งประเทศไทยว่าได้รับเงินคืนโดยไปทำรายการที่ตู้ ATM


วิธีการป้องกัน

  • ประชาชนทั่วไปควรรับทราบว่าธนาคารแห่งประเทศไทย หรือกรมสรรพากร ไม่มีนโยบายในการขอข้อมูลส่วนบุคคล หรือติดต่อขอให้ทำรายการที่เครื่อง ATM ดังนั้นเมื่อได้รับการติดต่อดังกล่าว ควรจะแจ้งความเพื่อดำเนินคดี

  • เมื่อพบหน้าจอ ATM ที่เป็นภาษาที่ตนเองไม่รู้จัก หรือไม่สามารถอ่านได้ ให้ทำรายการยกเลิกทันที

  • ประชาชนทั่วไปควรทราบว่าเทคโนโลยีของตู้ ATM นั้นไม่สามารถทำรายการรับเงินคืนได้ดังนั้นหากมีการแจ้งว่าให้ทำรายการรับเงินผ่านตู้ ATM นั้น เป็นการหลอกลวงให้โอนเงินอย่างแน่นอน

2.4 ผู้ขายไม่มีตัวตนจริง และไม่ส่งสินค้า มี 2 กรณี

  • มิจฉาชีพปลอมตัวเป็นผู้ขายที่ไม่มีตัวตนจริง และไม่ส่งสินค้า

  • ผู้ขายไม่มีตัวตนจริง โดยหลอกทั้งผู้ซื้อและผู้ขายตัวจริง

วิธีการป้องกัน

  • ผู้บริโภคควรตรวจสอบเว็บไซต์ว่าเชื่อถือได้ มีร้านเป็นหลักแหล่ง สามารถติดต่อได้ท้งทางโทรศัพท์บ้านและไปรษณีย์

  • ผู้บริโภคไม่ควรเห็นแก่สินค้าราคาถูกผิดปกติ และพยายามเร่งรัดให้ซื้อสินค้าเนื่องจากในทางธุรกิจไม่สามารถเป็นไปได้ เมื่อเห็นสินค้าราคาถูกมากผิดปกติให้ตั้งข้อสงสัยว่าเป็นการหลอกลวง

  • ผู้บริโภคควรจะสังเกตุเครื่องหมายรับรองความน่าเชื่อถือที่ผู้ประกอบการได้รับ เพื่อเป็นข้อมูลในการตัดสินใจก่อนซื้อสินค้าและบริการ

  • ผู้บริโภคจะต้องตรวจสอบชื่อบัญชีธนาคารของผู้ขายก่อนจะโอนเงินทุกครั้งว่าตรงกับผู้ที่ติดต่อด้วยหรือไม่ หากเป็นชื่อบุคคลธรรมดาให้พึงระวังเป็นพิเศษมากกว่าชื่อบัญชีธนาคารที่เป็นนิติบุคคล

2.5 ถูกโกงด้วยบัตรเคดิตปลอม

ผู้ประกอบการ e-Commerce มักจะถูกแอบโกงจากผู้ซื้อทางออนไลน์ที่ใช้บัตรเครดิตปลอม ใช้หมายเลขบัตรเครดิตปลอม ใช้หมายเลขบัตรเครดิตที่ขโมยมาจากผู้อื่น หรือบัตรที่หมดอายุแล้ว

วิธีการป้องกัน

  • ผู้ประกอบการจะต้องตรวจสอบความน่าเชื่อถือของหมายเลขบัตรเครดิต ที่ใช้บนอินเตอร์เน็ตกับธนาคารเจ้าของบัตร (Verificaion Service)

  • ควรจะเลือกใช้บริการของธนาคารที่มีระบบการตรวจสอบข้อมูลของบัตรเครดิตที่มากกว่าการเข้ารหัสเพียงอย่างเดียว โดยจะต้องเลือกธนาคาร ระบบการรับชำระเงินที่มีการตรวจสอบข้อมูลบัตรเครดิตได้ เช่น ที่อยู่ หรือหมายเลขโทรศัพท์ ของเจ้าของบัตร และมีระบบ Secured Code (Verified by VISA หรือ Mastercard SecureCode)

  • ผู้ประกอบการควรตรวจสอบรายการที่มีมูลค่าสูง หรือซื้อสินค้าจำนวนมากผิดปกติ ด้วยการโทรศัพท์กลับไปตรวจสอบกับธนาคารเพื่อให้ธนาคารตรวจสอบกับเจ้าของบัตรต่อไป

  • ผู้ประกอบการไม่ควรรับบัตรเครดิตจากธนาคารผู้ออกบัตรจากประเทศที่มีความเสี่ยง (สามารถตรวจสอบรายชื่อจากธนาคาร) หรือขายสินค้าให้กับผู้ซื้อที่ใช้บัตรเครดิตในการจ่ายเงิน กับที่อยู่ที่ส่งของมาจากคนละประเทศ

2.6 ถูกหลอกให้รัก และให้โอนเงินให้

มีผู้เสียหายร้องเรียนเกี่ยวกับคดีที่ถูกหลอกลวงผ่านทาง Chat room โดยเหยื่อส่วนใหญ่จะเป็นสุภาพสตรี และได้รู้จักกับคู่สนทนาที่อ้างว่าเป็นชายชาวต่างชาติ โดยเหยื่อจะถูกหลอกให้หลง เชื่อว่าคู่สนทนานั้นมีตัวตนตริงและทำให้เหยื่อหลงรัก จากนั้นไม่นานคู่สนทนาจะแจ้งว่าได้ส่งของขวัญมูลค่าสูงมาให้เหยื่อทางไปรษณีย์ จากนั้นไม่นานจะมีโทรศัพท์มาหาเหยื่อ โดยอ้างว่าเป็นเจ้าหน้าที่ของบริษัทขนส่ง และแจ้งว่าพัสดุที่ส่งมานั้นมีภาษี และค่าขนส่งที่เกินกว่าที่ผู้ส่งได้ชำระไว้ และขอให้ผู้รับชำระค่าภาษีและค่าขนส่ง

วิธีการป้องกัน

  • ผู้ใช้บริการแช๊ต (Chat) ผ่านอินเทอร์เน็ตควรจะตระหนักถึงภัยในประเด็นนี้ที่มีมากขึ้นตามข่าวที่ปรากฏในหน้าหนังสือพิมพ์หรือสื่อออนไลน์ และไม่ควรจะหลงเชื่อบุคคลอื่นที่ตนเองไม่รู้จัก ผ่านทางอินเทอร์เน็ตโดยเด็ดขาด

  • หากฝ่ายที่สนทนาด้วยแจ้งว่าได้ทำการส่งของ และมีบริษัทผู้ส่งของติดต่อมา จะต้องทำการตรวจสอบโดยตรงไปยังบริษัทส่งของที่แจ้งมาว่ามีชื่อเสียงเพียงใด หากไม่มีชื่อเสียงหรือเป็นที่รู้จัก ห้ามหลงเชื่อโดยเด็ดขาด

  • ควรจะขอหมายเลขส่งของหรือหมายเลขที่ต้องเสียภาษีจากผู้โทรศัพท์แจ้ง และนำหมายเลขนั้นไปตรวจสอบกับเจ้าหน้าที่กรมศุลกากร เพื่อตรวจสอบว่าได้มีการเรียกเก็บภาษี หรือมีสินค้านั้นส่งมาจริงหรือไม่

2.7 การสมัครสมาชิกเครือข่ายธุรกิจ เพื่อทำงานจกาบ้าน (Work at home)

วิธีการปัองกัน

  • ผู้บริโภคควรจะศึกษาและสอบถามรายละเอียดของบริษัท รวมทั้งรูปแบบการทำธุรกิจโดยละเอียดจนแน่ใจว่าผู้โฆษณามีตัวตนอยู่จริง และมีโมเดลธุรกิจที่ชัดเจน หากทางผู้โฆษณาบ่ายเบี่ยงที่จะให้ข้อมูลจนกว่าจะชำระเงินค่าสมาชิกก่อน ให้เชื่อได้ว่าเป็นการหลอกลวงจากมิจฉาชีพ เนื่องจากผิดวิสัยของบริษัทที่ต้องการขยายธุรกิจที่จะต้องอธิบายโมเดลทางธุรกิจให้กับผู้บริโภคอย่างชัดเจน

  • ผู้บริโภคต้องระลึกเสมอว่าในความเป็นจริงไม่มีธุรกิจใดที่ได้เงินมาอย่างง่ายๆ ด้วยการทำงานที่บ้านเพียงแค่วันละ 2-3 ชั่วโมง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น