วันอังคารที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2553

ทำไมต้อง กะรัต เมื่อวัดน้ำหนักเพชร

จากเว็บ http://www.oneclickdiamond.com/

น้ำหนัก (Carat)

หน่วยวัดน้ำหนักเพชรคือ กะรัต ซ่งเป็นคำเพี้ยนมาจากคำว่า แคร็อบ (carob) อันเป็นเมล็ดของต้นไม้ชนิดหนึ่งที่พบได้ในประเทศแอฟริกาใต้ ฝักคล้ายมะขาม ที่น่าประหลาดคือเมล็ดข้างในแทบทุกเม็ดมีน้ำหนักใกล้เคียงกัน พ่อค้าสมัยก่อนจึงใช้เป็นเสมือนลูกตุ้มน้ำหนัก ใช้ในการซื้อขายเพชร

น้ำหนักของเพชรจะวัดเป็นกะรัต หนึ่งกะรัต หนัก 0.2 กรัม แบ่งออกเป็น 100 สตางค์ดังนั้นเพชรขนาด 0.75 กะรัตจึงมีน้ำหนักเท่ากับ 75 สตางค์ ขนาดกะรัตเป็นตัวตัดสินมูลค่าของเพชรที่เด่นชัดที่สุดแต่สิ่งที่ควรระลึกไว้เสมอก็คือเพชรสองเม็ดที่มีขนาดกะรัตเท่ากันอาจมีมูลค่าแตกต่างกันอย่างมากก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการเจียระไน สีและความสะอาด

เพชรที่มีน้ำหนักตัวมาก ราคาต่อกะรัตจะแพงกว่าเม็ดที่มีน้ำหนักน้อยกว่า โดยความแตกต่างของราคากับน้ำหนัก ไม่ได้วิ่งเป็นกราฟเส้นตรง เช่น เพชรหนึ่งกะรัตหนึ่งเม็ด ราคาจะมากกว่าเพชรครึ่งกะรัตสองเม็ดในคุณภาพที่เท่ากัน เหตุผลหลักคือ เพชรเม็ดใหญ่กว่าหายากกว่า และน้ำหนักเพชรที่เหลือหลังจากการเจียระไน มักจะน้อยกว่าน้ำหนักตั้งต้น 50-70 %

น้ำหนัก มูลค่าที่สร้างความแตกต่าง

ในวงการค้าเพชร เมื่อพ่อค้าพูดถึงขนาดของเพชร มักจะหมายถึงน้ำหนักซึ่งมีหน่วยเป็นกะรัตมีปีคริสตศักราช 1913 มีการกำหนดมาตรฐานหน่วยน้ำหนัก 1 กะรัต ให้มีค่าเท่ากับ 0.2 กรัม หรือ 100 พอยต์สำหรับคนไทยจะเรียกน้ำหนักเป็นหน่วย กะรัต และหน่วยที่ต่ำกว่ากะรัตจะเรียกว่า สตางค์ โดย 1 กะรัต มีค่าเท่ากับ 100 สตางค์ ตัวอย่าง : เพชรน้ำหนัก 50 สตางค์ เท่ากับ 0.50 กะรัต

ในสหรัฐอเมริกา มีการใช้คำว่ากะรัตที่สะกดด้วยพยัญชนะภาษาอังกฤษว่า “KARAT” เพื่อบ่งบอกถึงปริมาณความบริสุทธิ์ของทองคำ เช่น 24 karat , 14 karat เป็นต้น ส่วนคำว่า กะรัตที่สะกดด้วยพยัญชนะภาษาอังกฤษว่า “CARAT” จะใช้เพื่อบ่งบอกน้ำหนักของอัญมณี

การประเมินคุณค่าเพชรในเรื่องน้ำหนักเป็นเรื่องที่ทำใด้ง่ายโดยเฉพาะสำหรับเพชรรูปทรงกลมเหลี่ยมเกสร เนื่องจากมีการศึกษาอย่างต่อเนื่องมานานทำให้ได้ค่าที่เหมาะสมระหว่างน้ำหนัก (กะรัต) กับขนาด (มิลลิเมตร) ที่มีความสัมพันธ์แต่ในความเป็นจริงแล้วพบว่า เพชรที่ผ่านการเจียระไนจำนวนมากมีน้ำหนักกับขนาดที่ไม่สัมพันธ์กัน ซึ่งถ้ามีความแตกต่างกันมากก็แสดงว่าเพชรเม็ดนั้นมีการเจียระไนที่ไม่เหมาะสม ซึ่งอาจเป็นผลต่อเนื่องจากการเจียระไนที่ไม่ได้สัดส่วน โดยอาจมีสาเหตุจากรูปทรงของผลึกเพชรที่ไม่สมบูรณ์ หรือการที่ช่างเจียรพยายามเจียระไนเพื่อรักษาน้ำหนักเพชรให้ได้มากที่สุด หรือเป็นเพราะต้องเจียรหลบเลี่ยงตำหนิของเพชรนั่นเอง

น้ำหนักเพชรที่เท่ากันอาจจะมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางที่วัดเป็นหน่วยมิลลิเมตรไม่เท่ากัน โดยบางเม็ดอาจมีเส้นผ่าศูนย์กลางใหญ่กว่า แต่มีความสูงที่ต่ำกว่าอีกเม็ด ขณะเดียวกันเพชรที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางที่เท่ากันก็อาจจะมีน้ำหนักที่ต่างกันได้ ขึ้นอยู่กับความหนาของเกอร์เดิลและความสูงของเพชร

น้ำหนักของเพชรมีผลต่อราคาเป็นอย่างมาก เนื่องจากความหายากของเพชรต่อเม็ดที่มีขนาดใหญ่ ทำให้ราคาของน้ำหนักเพชรต่อเม็ด มีมูลค่ามากกว่าน้ำหนักเพชรเม็ดเล็ก ๆ มารวมกัน เช่น เพชรน้ำหนัก 25 สตางค์ จำนวน 2 เม็ดรวมกันจะมีมูลค่าน้อยกว่าเพชรน้ำหนัก 50 สตางค์จำนวน 1 เม็ด
เป็นบทความที่คัดลอกมาค่ะ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น