วันอังคารที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2553

การเจียระไนเพชร (cutting)

จากเว็บ http://www.oneclickdiamond.com/

การเจียระไนเพชร (cutting)

ประวัติการเจียรระไนในอดีตนั้น อินเดียเป็นชาติแรกที่รู้จักการเจียรระไนเพชร แต่ไม่มีชื่อเสียง ในเรื่องความสวยงาม เพราะอินเดียนิยมเจียรระไนให้ได้เนื้อเพชรมากๆ โดยไม่คำนึงถึงการกระจายแสงหรือประกายไฟ หลังจากนั้นหลายๆประเทศได้มีวิวัฒนาการรูปแบบการเจียรระไน ให้ดีขึ้นมาเรื่อยๆ เพือให้เพชรมีการเล่นแสงให้ได้มากที่สุด รวมทั้งรักษาน้ำหนักที่เสียไปจากการเจียรระไนให้น้อยที่สุด ทำให้เพชรที่เจียรระไนรุ่นใหม่ มีคุณภาพดีกว่าการเจียรระไนแบบเก่า จนได้รูปแบบการเจียรระไนเพชรที่ได้รับความนิยมใช้กันถึงปัจจุบัน คือการเจียรรูปทรงกลมเหลี่ยมเกสร (round brilliant cut) ซึ่งมี 58 เหลี่ยม ราคาเพชรรุ่นใหม่จึงมีราคาสูงกว่าการเจียรแบบเก่าๆ


การเจียรระไนเพชรทำได้หลายแบบ :


ทรงกลม (round brilliant cut) เป็นการเจียรระไนเพชรทรงเหลี่ยมเกสรซึ่งเป็นที่นิยมในปัจจุบัน
ทรงแฟนซี เช่น ทรงสี่เหลี่ยมจตุรัส หรือสี่เหลี่ยมพริ้นเซส (Princess cut) สี่เหลี่ยมผืนผ้า หรือสี่เหลี่ยมมรกต (Emeral cut) ทรงไข่ (Oval) ทรงหัวใจ (Heart) ทรงเม็ดข้าว ( Marquoise) หรือทรงหยดน้ำ (Pearl)

องค์ประกอบของความสวยงามในการเจียรระไน :
  • การผ่านแสง (Transparent)
  • ประกายแสง (Brilliance)
  • การกระจายแสง (Dispersion)
  • ความระยิบระยับ (Scintillation)

  • ความวาว (Luster)

ในการพิจารณาว่าเพชรเม็ดนั้นเจียระไนดีหรือไม่นั้นต้องพิจารณาจาก 3 องค์ประกอบ:

ขนาดเทเบิล (Table Size) ที่ใหญ่หรือเล็กเกินไปจะมีผลต่อการกระจายแสงของเพชร

มุมคราวน์ (Crown Height) ที่มีความสูงไม่สมดุลกับมุมสะท้อนแสงจะมีส่วนทำให้การกระจายแสงลดน้อย

ความลึกพาวิเลี่ยน (Pavilion Dept) ที่มีการเจียระไนที่ดี แสงจะสะท้อนขึ้นทุกมุม ทำให้การกระจายแสงดี แต่ถ้าเจียระไนบางเกินไปแสงจะทะลุออกด้านล่างหรือถ้าเจียระไนหนาเกินไปจะทำให้ไม่มีแสงสะท้อนทำให้เพชรจะดูมืด (Nail Head)

ซึ่งค่าทั้งหมดจะถูกตรวจสอบโดยนักอัญมณีศาสตร์และบันทึกผลที่ได้ลงใน Certificates ซึ่งผลที่ได้ทั้งหมดจะนำมาสรุปเพื่อให้เข้าใจง่ายต่อบุคคลทั่วไป โดยจะเรียงลำดับจาก เจียระไนดีมาก (Very Good), เจียระไนดี (Good), เจียระไนพอใช้(Fair)
การเจียระไน เป็นคุณภาพเดียวของเพชรที่ควบคุมได้โดยฝีมือคนถือเป็นหัวใจของคุณภาพส่วนรวมของเพชร เพราะวัตถุประสงค์หลักของการเจียระไน คือ การนำลักษณะที่ดีของเพชรออกมาเปล่งประกายให้มากที่สุดเพชรทั่ยังไม่ผ่านการเจียระไน มีผิวมัวคล้ายฉาบด้วยน้ำมัน คล้ายก้อนหินทั่วๆไป แต่เมื่อนำมาเชียระไนแล้วจึงเปล่งประกายดังนั้น ถึงแม้ว่าเพชรเนื้อใสสะอาดเพียงใด มีสีสวยเพียงใด แต่ถ้าเจียระไนนั้นไม่ได้สัดส่วนที่ถูกต้อง ย่อมทำให้คุณภาพด้อยลงไปอย่างน่าเสียดาย
ช่างเจียระไนเพชรที่ดีต้องพิจารณาจากรูปร่างก้อนเพชรว่าจะตัดแนวใดและเจียระไนรูปแบบใด จึงจะเปล่งประกายมากที่สุด และรักษาน้ำหนักได้มากที่สุด ช่างเจียระไนเพชรที่ดีจะรักษาคุณภาพมากกว่ารักษาน้ำหนักเพราะถึงแม้ว่าเพชรจะมีน้ำหนักมาก แต่ถ้าสูญเสียประกาย ย่อมมีมูลค่าลดลง

เป็นบทความที่คัดลอกมาค่ะ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น